ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก ‘เพิ่มขึ้น’ มากสุดเป็นอันดับสองของโลก

poor environment city environmental disaster harmful emissions into environment smoke smog pollution atmosphere by plant factory exhaust gases 1
poor environment city environmental disaster harmful emissions into environment smoke smog pollution atmosphere by plant factory exhaust gases

รายงานจาก Utility Bidder บริษัทที่ปรึกษาและประเมินราคาด้านพลังงานจากประเทศอังกฤษ ระบุว่า ‘ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก ‘เพิ่มขึ้น’ ร้อยละ 7.43 ต่อปี ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา (1959-2019) โดยมีจำนวนการเพิ่มขึ้นคิดเป็นอันดับสองของโลก’ หรือในอัตรา 3.7 MtCO2 (ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์) ต่อปี โดยข้อมูลในปี 2019 ระบุว่าไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 289.5 MtCO2

หากประเทศไทยยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตรานี้ต่อไป ทาง Utility Bidder คาดว่าในปี 2032 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 568.9 MtCO2

สำหรับอันดับหนึ่งคือประเทศซาอุดีอาระเบียที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.66 ต่อปี และอันดับสามคือประเทศมาเลเซียซึ่งมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.16 ต่อปี โดยข้อมูลทั้งหมดมาจากหน่วยงานที่ชื่อว่าโครงการคาร์บอนโลก (Global Carbon Project)

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ที่กลาสโกวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งได้ถึงร้อยละ 17

จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 7 ภายในปี 2020 ตามแผน NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Actions) อีกทั้งยังระบุว่า ไทยพร้อมปล่อยเป็นประเทศก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG emission) ภายในปี 2065 ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่จัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) และได้ส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำให้กับกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC

นอกจากนี้ รายงานเดียวกันนี้ยังได้ระบุถึงประเทศที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาได้นั้นมีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นคือ 1. กือราเซา (Curaçao) เกาะแถบคาริเบียนที่มีสถานะเป็นดินแดนปกครองตนเองแห่งหนึ่งของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยปล่อยลดลงในอัตราร้อยละ 1.78 ต่อปี

อันดับ 2. คือประเทศมอลโดวา (Moldova) ที่มีอัตราการปล่อยลดลงร้อยละ 0.66 ต่อปี อันดับ 3. คือ สหราชอาณาจักรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงร้อยละ 0.64 ต่อปี อันดับ 4. คือประเทศยูเครนโดยปล่อยลดลงร้อยละ 0.23 ต่อปี และอันดับที่ 5. คือประเทศเยอรมนีโดยปล่อยลดลงในอัตราร้อยละ 0.12 ต่อปี

planting more trees reduce amount co2 concept image with co2 text against woodland
3 download

หากอุตสาหกรรมของคุณพร้อมที่จะช่วยโลกลดลดก๊าซเรือนกระจก UniCarriersThailand ขอเป็นส่วนหนึ่งในสนับสนุนอุตสาหกรรมคุณด้วย รถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้า BX2 Series ที่มาพร้อมพลังงานสะอาดจากแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออล ฟอสเฟต LiFePO4 อายุการใช้งานนาน ให้พลังงานสูง, กระแสคงที่ และชาร์จได้เร็วเพียง 1-2 ชม. ไม่มีไอเคมีที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ สามารถนำมารีไซเคิลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกเราต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อน การเลือกแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฯมาเป็นแหล่งพลังงาน ของรถฟอร์คลิฟท์พลังงานไฟฟ้านับได้ว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและมีประโยชน์สำหรับโลกใบนี้

Cr.National Geographic Thailand

Top