ภาษีคาร์บอนคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการดำเนินธุรกิจ
การเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ มีการใช้งานเครื่องจักรทุ่นแรง อาทิ รถโฟล์คลิฟท์ (รถฟอร์คลิฟท์) รถลากพาเลท รถแฮนด์ลิฟท์ หรือรถยกของ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการใช้งานเครื่องจักรดังกล่าวอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเก็บ “ภาษีคาร์บอน” ขึ้น
ทำความรู้จักกับ “ภาษีคาร์บอน”
ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) คือ หนึ่งในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน ร่วมกับการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2606
โดยรัฐบาลไทยและในอีกหลาย ๆ ประเทศ จะมีการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่สามารถก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (NO2) หรือไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ซึ่งเป็นก๊าซกลุ่มฟลูโอริเนต (F-Gases) ที่สามารถทำลายชั้นโอโซนได้ เป็นต้น
มาตรการจัดเก็บ “ภาษีคาร์บอน” ในประเทศไทยที่ธุรกิจต้องรับมือ
ในตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนโดยตรง แต่ทางรัฐบาลก็กำลังเร่งศึกษาแนวทางเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษี โดยคาดว่าจะศึกษาเสร็จเรียบร้อยภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 นี้ เพื่อเตรียมจัดเก็บภาษีคาร์บอนจากภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคพลังงานที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกสูงถึง 35% และรองลงมาคือภาคขนส่งทั้งรถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ ที่ 32% ในขณะที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคครัวเรือนจะอยู่ที่ 6% เท่านั้น
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- การจัดเก็บภาษีทางตรง : โดยจะจัดเก็บจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตสินค้า
- การจัดเก็บภาษีทางอ้อมตาม : เป็นการจัดเก็บภาษีคาร์บอนจากการบริโภค อาทิ ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง หรือปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น
รู้หรือไม่ ? รถโฟล์คลิฟท์ก็ต้องจ่ายภาษีคาร์บอน
แม้ว่าธุรกิจจะไม่ถูกจัดเก็บภาษีคาร์บอนโดยตรงจากการเลือกใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ดีเซล หรือรถโฟล์คลิฟท์ราคาคุ้มค่าประเภทอื่น ๆ ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน แต่หากธุรกิจยังไม่ได้มีการเตรียมตัวปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด อาทิ การเลือกใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าซึ่งมาพร้อมด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอตเฟส (Li-Iron หรือ LiFeP04) ที่ไม่ปล่อยควันเสีย ไอเคมี หรือมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ธุรกิจก็มีความจำเป็นจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากการใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ดีเซลผ่านการผลิตคาร์บอนของโรงงานอุตสาหกรรม และอาจถูกกีดกันทางการค้าจากหลาย ๆ ประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดย บจก.สยามกลการอุตสาหกรรม เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล ประสิทธิภาพสูง ตราสินค้า Unicarriers Thailand พร้อมด้วยอะไหล่รถโฟล์คลิฟท์คุณภาพสูงจากศูนย์อะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ที่ได้มาตรฐานในประเทศญี่ปุ่น ที่มีการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี การันตีคุณภาพด้วย 3 รางวัลยอดเยี่ยมจากกลุ่มธุรกิจโลจิสเน็กซ์ ได้แก่ รางวัลยอดขายและยอดสั่งซื้ออะไหล่รถโฟล์คลิฟท์สูงสุดในภูมิภาคเอเชีย (Best part sales recovery), รางวัลยอดขายและยอดสั่งซื้อรถสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย (Top Market share) และ Dealer of Excellent ที่มียอดขายและยอดสั่งซื้อรถโฟล์คลิฟท์ ยอดขายและยอดสั่งซื้ออะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ (รถฟอร์คลิฟท์) รวมถึงอัตราการเติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมาเทียบกับทุกประเทศในกลุ่ม โดย Unicarriers Thailand มีอะไหล่รถโฟล์คลิฟท์ รวมถึงรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า รถโฟล์คลิฟท์ดีเซล รถ Reach truck รถลากพาเลท รถ power stacker ให้ธุรกิจได้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบสำหรับการช่วยขนส่งยกย้ายสินค้าและวัตถุดิบต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สนใจรถโฟล์คลิฟท์ราคาคุ้มค่า รถลากพาเลท หรือรถลากพาเลทไฟฟ้า หรือติดต่อสอบถาม
บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด
8/5 หมู่ 8 ถนน สุขุมวิท (สายเก่า) ตำบลท่าข้าม
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130
โทรศัพท์ : 038 574 297
Line : @UniCarriersThai
E-mail : [email protected]