Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

มารู้จักกับ Blue Carbon และ Net-Zero กัน

Blue Carbon คือ คาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยระบบนิเวศในพื้นที่ชายฝั่ง รวมทั้งป่าชายเลน หญ้าทะเล และลุ่มน้ำเค็ม ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนสูงเมื่อเทียบกับป่าบนบก แม้ว่าพื้นที่เหล่านี้จะครอบคลุมพื้นที่น้อยกว่า 2% ของพื้นที่ในมหาสมุทรทั้งหมด แต่พื้นที่ชายฝั่งมีสัดส่วนการกักเก็บคาร์บอนราว 50% ของปริมาณคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในมหาสมุทร เนื่องจากมีความสามารถสูงในการดึงคาร์บอนจากอากาศและกักเก็บไว้ในพื้นดิน (carbon sink)  สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ตั้งเป้าหมายพื้นที่ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตไว้สำหรับปี 2022 รวม 31,488 ไร่ และเป็นพื้นที่ในเขต EEC ราว 2,400 ไร่

ประโยชน์ของป่าชายเลนที่มีทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ กรองน้ำเสียก่อนไหลลงทะเล หรือทำหน้าเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทำให้ blue carbon จากโครงการป่าชายเลนมีราคาซื้อขายที่สูงเมื่อเทียบกับเครดิตอื่น ๆ จากข้อมูลของ S&P Platts blue carbon จากป่าชายเลนมีราคาซื้อขายอยู่ที่ 13 – 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ซึ่งสามารถสร้างแรงจูงใจดึงดูดแหล่งเงินทุนใหม่ๆในตลาด (Voluntary Carbon Market) สู่เป้าหมาย Net-Zero (ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์)  

Net-Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือ แนวคิดในการจัดการเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์เป็นศูนย์ ซึ่งสหประชาชาติ หรือ UN ได้มีการจัดประชุมใหญ่ (Climate conference – COP26) กันที่ กรุงกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งแนวคิดด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) เป็นหนึ่งในหัวข้อที่โดดเด่นพูดถึงกันเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ คลื่น หรือลม ก็มีอุปสรรคที่  อาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริงได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในการผลิตพลังงาน ( intermittency) เช่น ฤดูกาลหรือช่วงเวลาของวัน  และเมื่อความต้องการด้านพลังงานทั่วโลกสูงขึ้น แนวคิดด้านการใช้พลังงงานที่ ‘สะอาดขึ้น’ และปล่อยก๊าซคาร์บอน ‘น้อยลง’ ก็ได้รับความสนใจด้วยการประสานพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติเข้ากับแบตเตอรี่แบบ  Lithium ด้วยความสามารถในการกักเก็บพลังงานในปริมาณมาก แบตเตอรี่ Lithium จึงเป็นคู่ที่ลงตัวเมื่อใช้เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ  สามารถให้พลังงานได้ไม่แพ้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน แก๊ส LPG หรือถ่านหิน 

สำหรับงานโลจิสติกส์หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังสินค้าซึ่งนิยมใช้รถฟอร์คลิฟท์เครื่องยนต์ดีเซล (บางรุ่นใช้เครื่องเบนซินและแก๊ส LPG) มาหลายสิบปี นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องมานาน แต่ในปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานและกระแสการอนุรักษ์เพื่อโลกอย่าง Net-Zero  ก็เป็นตัวแปรที่กระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการเลือกใช้รถฟอร์คลิฟท์

ทางเลือกของเชื้อเพลิง นอกจากน้ำมันดีเซลหรือ LPG แล้ว รถฟอร์คลิฟท์มอเตอร์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการใชัพลังงานสะอาดตอบรับกระแส Go Green ช่วยลดก๊าซ CO2 (ก๊าซเรือนกระจก) แต่เทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบ (กรด-ตะกั่ว) ก็อาจไม่ตอบโจทย์การใช้งานหนักหรืองานกลางแจ้ง สาเหตุจากข้อจำกัดด้านกำลังแรงบิดและเวลาที่ใช้ในการชาร์จประจุไฟฟ้า แต่เทคโนโลยีล่าสุดของแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออนฟอสเฟต  (Lithium Iron Phosphate, LiFePO4 ,  หรือ LFP)  สามารถข้ามข้อจำกัดนี้ได้และเริ่มถูกเลือกใช้งานแทนแบตเตอรี่กรด-ตะกั่ว โดยมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าถึง 30% รักษาประสิทธิภาพสำหรับงานเคลื่อนย้ายสินค้าได้เป็นอย่างดี  

รถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้า BX2 Series  และรถสำหรับคลังสินค้า (Warehouse equipment forklifts) จาก ยูนิแคริเออร์ฟอร์คลิฟท์ ติดตั้งแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออนฟอสเฟต ช่วยลดกระทบแต่สิ่งแวดล้อม ไม่มีไอเคมีอันตรายขณะชาร์จประจุไฟฟ้า ไม่ปล่อยยก๊าซ CO2 (ก๊าซเรือนกระจก) ชาร์จประจุไฟฟ้ารวดเร็วเพียง 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน และใช้งานได้ถึง 10 ปี นับหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็น Green Tech ที่ช่วยโลกให้เข้าใกล้เป้าหมาย Net-Zero ภายในปี ค.ศ. 2050  ได้มากยิ่งขึ้น  

สอบถามสินค้าและบริการ
☎️ Call: 038 574 297
📧 E-mail: [email protected]
.
#UniCarriers #Forklift #UniCarriersForklift #UniCarriersThailand #ยูนิแคริเออร์ฟอร์คลิฟท์ #ยูนิแคริเออร์ #รถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้า #รถฟอร์คลิฟท์ดีเซล #รถฟอร์คลิฟท์LPG #รถยกไฟฟ้า #รถยกดีเซล #รถยกLPG #เช่ารถ #Reachtrucks #รถยก #รถโฟล์คลิฟท์ #โฟล์คลิฟท์

บทความล่าสุด

Top